top of page

 

Felix Mendelssohn

เกิด 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 เป็นนักเปียโน คีตกวี และผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน อยู่ในยุคโรแมนติกตอนต้น มีผลงานประพันธ์ทั้งซิมโฟนี คอนแชร์โต ออราทอริโอ และแชมเบอร์มิวสิค เฟลิคส์ เม็นเดิลส์โซน

เกิดที่ฮัมบวร์คในครอบครัวชาวยิวเป็นบุตรของอับราฮัมนายธนาคารซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอลิก ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอาศัยที่เบอร์ลิน เฟลิคส์ได้รับการฝึกฝนให้เล่นเปียโนจากมารดา

ป้าและพี่สาวชื่อฟันนีซึ่งเป็นนักดนตรีสมัครเล่น และได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะมาตั้งแต่เด็กเช่นเดียวกับโมซาร์ท เขาได้รับการฝึกฝนการประพันธ์เพลง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1817 เมื่ออายุเพียง9ปีและได้เริ่มแสดงคอนเสิร์ตตั้งแต่ปีนั้นต่อมาเขาได้ศึกษาต่อด้านปรัชญา สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ 

ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินเมนเดลส์โซนเป็นคีตกวีเพียงไม่กี่คนที่มีฐานะร่ำรวย แตกต่างจากศิลปินที่มีชื่อเสียง

ส่วนใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากจนข้นแค้นผลงานที่มีชื่อเสียงของเม็นเดิลส์โซนคือไวโอลินคอนแชร์โต

ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์ ที่ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1844

Mendelssohn's Violin Concerto E Minor Op. 64

(First movement)

เป็นผลงานชิ้นใหญ่สำหรับการบรรเลงด้วยวงออร์เคสตรา โดยมีแนวเดี่ยวไวโอลิน ถือว่าเป็นผลงานชิ้นใหญ่ชิ้นสุดท้ายที่เขาแต่งขึ้นและเพลงนี้ถูกนำมาเล่นบ่อยที่สุด เพลงนี้แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1838 โดยมีแรงบันดาลใจคือเพื่อนของเขาโดยมีการให้คำแนะนำและปรึกษากันเกี่ยวกับบทเพลงนี้ที่ใช้เวลาแต่งทั้งหมดถึง 6 ปี และในตลอดระยะเวลา 6 ปี นี้เขาและเพื่อนได้ทำการพัฒนาและปรับปรุงมาเรื่อย ๆ จนสำเร็จ Violin Concerto in E minor ถูกแต่งขึ้นในรูปแบบของ Sonata มีทั้งหมด 3 ท่อน

I. Allegro molto apassionato (E minor)

II. Andante (C Major)

III. Allegretto non troppo (E Major) 

Inspiration

เพลงนี้ mendelssohn ได้เขียนถึงเพื่อนของเขาที่ชื่อ (Ferdinand David) ซึ่งก็เป็นนักไวโอลินชื่อดัง ในเยอรมัน เพลงนี้เขาได้เขียนถึง David ในช่วงหน้าหนาวโดยมีเจตนารมณ์ถึงคำว่า มิตรภาพ และ สันติภาพ ความเงียบสงบ อ่อนไหวและความอ่อนหวานที่มีต่อเพื่อนของเขา เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลงที่โรแมนติกอย่างเข้มข้น ในบทประพันธ์ของเพลงนี้ในขณะที่เขาแต่ง Mendelssohn ได้มีการปรึกษา ความคิดเห็น กับเพื่อนของเขา ในทางด้านของเทคนิค ทั้งทางด้านเรื่องโน้ตและอัตราจังหวะ ดังนั้น David จึงมีอิทธิพลมากต่อบทเพลงนี้มีส่วนร่วมในการแรกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ทั้งนี้ Mendelssohn จะเป็นคนตัดสินใจเป็นขั้นตอนสุดท้าย

 

    Analyze Form

      Sonata Form

      Exposition Theme 1

79148585_1578994632264872_24198980905520

ทำหลักที่ 1 (ห้องที่ 1-116)

เป็นการนำเสนอบทเพลงโดยใช้โครงสร้างของ Sonata และในการนำเสนอทำนองหลักที่ 1 นำเสนอในบันไดเสียง E minor และอยู่ในอัตราจังหวะ 2/2

 

-ลักษณะของโน้ตตอนต้น Mendelssohn สื่อถึงอารมณ์ ในฤดูหนาว ที่เงียบสงบและอ่อนหวานความสันติภาพ

Exposition Theme 2

79213593_608887799880789_814431320225611

ทำนองหลักที่ 2 (ห้องที่ 116-203)

ประมาณห้องที่ 108 ออร์เคสตราจะเริ่มเล่นเข้าทำนองหลักที่ 2 โดยจะมีการเปลี่ยนบันไดเสียงเป็น G Major จะมีการเล่นในคีย์ B flat และ G minor และหลังจากนั้นจะดำเนินเข้าในทำนองหลักที่ 2

-ซึ่งเขาจะมีท่วงทำนองที่อ่อนหวานและอ่อนโยน

ประกอบด้วยการเล่นที่ช้าลงเพื่อให้เข้าถึงอารมณ์เพลงได้ดี จากท่วงทำนองนี้

จะสามรถรับรู้ได้ถึงอารมร์ที่มีความรัก ความโรแมนติกและความซาบซึ้ง

Development

79015816_1393510120799830_28052144157234

ห้องที่ 204-312 เป็นช่วง Development ที่นำเอาทำนองหลักมาพัฒนารูปแบบของการใส่เทคนิคเฉพาะสำหรับแนวเดี่ยวไวโอลินเพิ่มลงไปในทำนองหลักเพื่อที่จะให้นักแสดง ได้โชว์ความสามารถ โดยเอาทำนองหลักที่ 1 มาพัฒนารูปแบบโน้ตให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเทคนิคที่ใช้ ตัวอย่างเช่น Double Stop, Arpeggios และ Octave เป็นต้น

-เขายังคงความหมายเดิมคือ ความหนาว ความสงบ แต่ตรงนี้เขาพยายามใส่เทคนิคและไอเดียต่าง ๆ ลงไปเพื่อให้ผู้แสดงได้โชว์ศักยภาพและไอเดียออกมา

Recapitulation

79036921_741898936584419_990987901674192

ห้องที่ 312 เป็นการกลับมาของทำนองหลักที่ 1 ที่อยู่ในช่วง Exposition โดยจะกลับมาในบันไดเสียงเดิมหรือ Tonic โดยห้องที่ 312 จะเป็นการนำเสนอทำนองหลักด้วยวงออร์เคสตรา

-เป็นการเล่นแบบ Arpeggio ที่อยู่ในคอร์ดเขาพูดถึงความสงบที่เหมือนกับกำลังเดินทางไปหาจุดจบของเพลง

 

 

 

Coda

79215229_554261975121696_321882252799220

เป็นการบอกว่าบทเพลงนี้กำลังจะดำเนินมาถึงตอนจบโดยจะมีการเล่นทำนองหลักที่ 1

แต่จะมีการเล่นจังหวะที่เร็วขึ้น หรือในจังหวะ (Presto) จนจบท่อนที่ 1

-และในตอนจบนี้ จะเป็นการเล่นแบบ Presto ที่มีความหมายว่าการเล่นที่เร็วขึ้น

และการเล่นที่เร็วขึ้นนั้นถือว่า

เป็นสัญลักษณ์ของการที่จะจบเพลงหรือถือว่าเป็นตัวบอกถึงบทสรุปของเพลง

bottom of page